ความรู้

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |

Gas Cap

ในแหล่งปิโตรเลียมที่มีทั้งก๊าซและน้ำมัน ก๊าซจะอยู่ส่วนบนของแหล่งกักเก็บ เรียกว่า gas cap

Gas Compression

ระบบเพิ่มแรงดันก๊าซ จากก๊าซที่มีแรงดันต่ำจะถูกเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้ปั๊มอัดก๊าซ

Gas Dehydration

ระบบดูดความชื้นก๊าซ

Gas/Liquid Seperator

ระบบแยกสถานะ เป็นระบบที่ใช้แยกก๊าซ น้ำมันและน้ำ ออกจากกัน โดยใช้หลักการของความแตกต่างของสถานะของสสารรวมถึงค่าความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นของเหลวเหมือนกัน เช่น แยกน้ำออกจากน้ำมัน ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบอุปกรณ์ของแต่ละระบบ

Gasoline

น้ำมันเบนซิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นกลุ่มสารประกอบเบา (light distillates) ซึ่งประกอบด้วย gasoline และ kerosene โดย gasolineใช้เป็นน้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องรถยนต์และใช้เป็นน้ำมันเครื่องบินบางชนิด (aviation gasoline) หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

Gas Seperation Plant

โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ทำหน้าที่แยกก๊าซธรรมชาติหรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งปะปนกันหลายชนิดตามธรรมชาติออกมาเป็นก๊าซชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดตาม คุณค่าของก๊าซนั้น

Gas Turbine Generator

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ

Gas Turbine Power Plant

โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้กังหันก๊าซเป็นเครื่องดันกำลัง ซึ่งได้พลังงานจากการเผาไหม้ของส่วนผสมระหว่างก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดีเซลกับความดันสูง (compressed air) จากเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ในห้องเผาไหม้ เกิดเป็นไอร้อนที่ความดันและอุณหภูมิสูง ไปขับดันใบกังหัน เพลากังหันไปขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซมีประสิทธิภาพประมาณ 25% สามารถเดินเครื่องได้อย่างรวดเร็วเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าสำรองเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (peak load period) และกรณีฉุกเฉิน และมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี

Geothermal Energy

พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นพลังงานความร้อนที่สะสมและถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกและสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพลังงานที่ได้มาจากการปลดปล่อยไอน้ำและน้ำร้อนจากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงในธรรมชาติโดยผ่านหลุมเจาะ จากการวัดอุณหภูมิที่ความลึกต่างๆจากผิวโลก พบว่าอัตราการเพิ่มอุณหภูมิใต้พิภพมีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ที่ความลึกประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 250 - 1,000 องศาเซลเซียส

GIIP

มาจากคำว่า Gas Initial in Place หมายถึงปริมาตรของก๊าซในแหล่งที่สภาพเริ่มแรก

GOR

มาจากคำว่า Gas to Oil Ratio หมายถึง ปริมาตรของก๊าซที่ผลิตได้ที่ความดันบรรยากาศต่อปริมาตรของน้ำมันที่ผลิตได้

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |